ในปี ๒๕๐๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ เสด็จฯภูเก็ต ได้เสด็จฯทอดพระเนตรกิจการเหมืองแร่ของบริษัทอนุภาษณ์และบุตร ทรงพระราชดำริที่จะให้ประเทศไทยมีโรงถลุงแร่ดีบุก จะได้สร้างมูลค่าเพิ่มจากแร่ดีบุกไปเป็นโลหะแร่ดีบุก รัฐหาลู่ทางประสานงานกับสหรัฐอเมริกา ประเทศอังกฤษ และประเทศอื่นในยุโรป ภูเก็ตจึงมี ไทยซาร์โก้ เทรดดิ้ง ก่อตั้งขึ้นภายใต้บริษัท ไทยแลนด์สเมลติ้งแอนด์รีไฟนิ่ง จำกัด และ เป็นหนึ่งในเครือ AMC PLC GROUP รัฐกำหนดให้ส่งออกแร่ดีบุกเป็นโลหะดีบุก แร่จากทุกเหมืองจึงต้องส่งมาป้อนไทยซาร์โก้
ไทยซาร์โก้
ประเทศไทยเป็นประเทศผู้ผลิตดีบุกได้มากที่สุดของประเทศหนึ่ง โดยบริษัท ไทยแลนด์สแมลติ้งแอนด์ รีไฟนิ่ง จำกัด หรือเรียกโดยย่อว่า ไทยซาร์โก้ เป็นผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมด้านการผลิตโลหะที่ผลิตได้ในประเทศ ไทยซาร์โก้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 8 พฤกภาคม 2506 และต่อมาเมื่อวันที่ 6 กันยายนของปีเดียวกัน ก็ได้รับบัตรส่งเสริมจากคณะกรรมการ ส่งเสริมการลงทุนเพื่อประกอบกิจการถลุงแร่ดีบุก ในข้อกำหนดนั้นไทยซาร์โก้ จะต้องทำการผลิตโลหะผสมดีบุกบริสุทธิ์ ให้ได้ปีละประมาณ 15,000 ตัน และต้องปฎิบัติตามวิธีการซื้อขายสินแร่ดีบุก เช่นเดียวกับวิธีการถลุงแร่ในประเทศมาเลเซียที่ถือปฎิบัติอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งราคาแร่ดีบุกนั้นให้ใช้ราคาประจำวันของตลาดดีบุกปีนัง (ต่อมาเปลี่ยนเป็นตลาดกัวลาลัมเปอร์) ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการกระทบกระเทือนต่อกิจการของผู้ประกอบการเหมืองแร่ตลอดจน………..การผูกขาดในการตั้งราคาสินแร่และค่าถลุง โรงงานถลุงแร่ดีบุกไทยซาร์โก้ ตั้งอยู่ตอนใต้ของปลายแหลมบริเวณอ่าวมะขามห่างจากตัวเมืองภูเก็ตไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 12 กม.โดยที่ตั้งโรงงานตั้งถัดจากโรงงานแต่งแร่ดีบุกขององค์การเหมืองแร่ในทะเลและอยู่ทางใต้ของบริเวณคลังน้ำมัน บริษัทเชลล์และเอสโซ่ ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของโรงงานติดกับทะเลอันดามัน ทิศตะวันตกเฉียงใต้และทิศตะวันตกของโรงงาน ล้อมรอบด้วยสวนมะพร้าว