1
จุดเริ่มต้นของเพอรานากันภูเก็ต
เพอรานากัน เป็นคำที่มาจากภาษามลายู มีความหมายว่า “เกิดที่นี่” ใช้เรียกชาวจีนที่มีเชื้อสายผสม เมื่อชายต่างถิ่นแต่งงานกับหญิงชาวท้องถิ่น ลูกหลานพวกเขาก็คือบรรพบุรุษของชาวเพอรานากัน เช่น ชุมชนยาวีเพอรานากันเป็นลูกหลานของชาวอินเดีย ชุมชนบาบ๋าเป็นลูกหลานของกลุ่มชาวจีนฮกเกี้ยน เป็นต้น
ภูเก็ตได้ดำเนินกิจการเหมืองเรือขุดเป็นลำแรกของโลก ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยบริษัททุ่งคาฮาเบอร์ แต่สิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่งคือ “แร่ดีบุก” ซึ่งเป็นต้นทางแห่งยุคเศรษฐกิจรุ่งเรืองได้ก่อกำเนิดอาชีพอีกมากมาย ที่เกี่ยวเนื่องในวิถีชีวิตของหลายคนที่ล้วนเข้ามาผูกพันกับอาชีพการทำเหมืองแร่นี้
สถาปัตยกรรมยุคแรกของภูเก็ต บ้านเรือนใช้รูปแบบสถาปัตยกรรมที่ถ่ายทอดมาจากประเทศจีนมีเอกลักษณ์เฉพาะคือใช้วัสดุในการก่อสร้าง เป็นดิน หรือดินเผา แทนการใช้ไม้หรือไม้ไผ่ กำแพงบ้านก่อเป็นฝาผนังทั้งสี่ด้าน เจาะช่องประตูหน้าต่าง หลังคามุงด้วยกระเบื้องรางดินเผา ทรงเตี้ยๆ ต่อมา เริ่มมีสถาปัตยกรรมผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมแบบจีนยุโรป หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า สถาปัตยกรรมชีโน-ยูโรเปียน เป็นอาคารสองชั้นกึ่งร้านค้า กึ่งที่อยู่อาศัย มีลักษณะลึกและแคบ หน้าตึกแถวมีทางเดินเท้า เป็นช่องซุ้มโค้งเชื่อมต่อกันตลอดทั้งแนวตึก เรียกว่า หง่อคาขี่
คฤหาสน์หลังใหญ่ที่ของคหบดี หรือ อังมอเหลา เป็นคฤหาสน์ของบรรดาเศรษฐีนายหัวเหมืองแร่ ของภูเก็ต เป็นสถาปัตยกรรมผสมผสานระหว่างศิลปะ ความเชื่อแบบจีน กับการออกแบบ แนวตะวันตก
หน้าบ้าน ตกแต่งคล้ายหน้ามังกร โดยหน้าบ้านเป็นหน้ามังกร ประตูเป็นปาก หน้าต่าง2บานเป็นตา ช่องลมเหนือหน้าต่างเป็นคิ้ว มีป้ายชื่อหน้าบ้าน
ห้องรับแขก บริเวณห้องส่วนหน้าสุดของบ้าน ตกแต่งด้วยโต๊ะไม้ วางชุดกาน้ำชา และเก้าอี้ฝังมุก
ชิมแจ้ พื้นที่กลางบ้าน มีบ่อน้ำ เพื่อใช้สำหรับซักล้าง ด้านบนเปิดโล่งเพื่อให้แสงแดด และลมพัดผ่านเข้ามาในบ้าน
ห้องอาหาร จะอยู่ติดกับห้องครัว
ห้องครัว จะอยู่บริเวณหลังบ้าน ทำชั้นวางของ โดยการก่อปูนยกพื้นสูง เรียกว่าโพ
ห้องสุขา จะสร้างไว้บริเวณท้ายสุดของบ้าน เปรียบเสมือนส่วนหางของมังกร
ช่องตาแมว คือพื้นที่เจาะรูด้านบนชั้นสองหน้าบ้าน ทำให้สามารถมองเห็นแขกผู้มาหน้าบ้าน
ห้องนอน จะสร้างอยู่ชั้นสองของบ้าน
“หง่อคาขี่” (มาจากคำว่า Arcade) ภาษาจีนฮกเกี้ยน มีความหมายว่า “ทางเดินห้าฟุต” โดยมีเสาและช่องโค้งรับระเบียงชั้นสองอยู่ด้านหน้าของอาคารสามารถเดินได้ตลอดแนว ทั้งยังมีประโยชน์ที่สำคัญคือสามารถกันแดดและฝนได้อีกด้วย
บ่งบอกรสนิยมฐานะของเจ้าของบ้านหลังนี้ ห้องรับแขกทุกบ้านจะมีโต๊ะบูชา หรือ หน้าตั๋วพระจีน มีฉากไม้กั้นฉลุ จากไม้สี่บานเรียงต่อกัน ลุลวดลายสวยงามและมีความหมายเป็นมงคล ใช้กั้นระหว่างบริเวณส่วนห้องรับแขกและส่วนถัดไปของบ้านให้เป็นสัดส่วน สมัยก่อนหากมีผู้ชายเข้ามาเยี่ยม พ่อแม่จะไม่อนุญาตให้ลูกสาวออกมาบริเวณห้องรับแขก ลูกสาวของบ้านนั้นๆอาจใช้จุดนี้ในการแอบดูตัวผู้ชายที่เข้ามาเยี่ยมเยียน
ชิมแจ้ เป็นคำในภาษาจีนฮกเกี้ยน คำว่า ชิม แปลว่า ลึก ส่วนคำว่า แจ้ แปลว่ากลางแจ้ง บ้านคนจีนในภูเก็ตมักมีการสร้างบ่อน้ำในบ้านให้ลดระดับต่ำกว่าพื้นบ้านราว 1 ฟุตบริเวณด้านบนบ่อน้ำเป็นช่องเปิดโล่ง เพื่อเปิดรับลมและน้ำ เชื่อกันว่าจะทำให้คนในบ้านอยู่สบายได้ เนื่องจากเป็นสัญลักษณ์ของเงินทอง จึงควรเปิดรับให้ไหลเข้าบ้าน
ห้องครัว จะมี “โพ” คือทำจากดินเหนียวหรืออิฐแดงก่อขึ้น ใช้ในการตั้งกระทะ หม้อ ข้างใต้ใส่ฝืนลดหลั่นตามกำลังไฟ ในการทำอาหาร ทำขนม มีแป้นพิมพ์ขนมต่างๆนอกจากนี้ ในห้องครัว มีศาลแดงเล็กๆ ชาวภูเก็ตจะเรียกว่า เทพเจ้าเตาไฟว่า “จ้าวฮุนก้ง” หรือ "ซีเบ่งจ้าวกุ้น" สำหรับชาวจีนฮกเกี้ยน ภูเก็ต - ปีนัง - ฝูเจี้ยน เชื่อว่าเทพเจ้าเตาไฟเป็นเทพที่มีหน้าที่คุ้มครองดูแลความเป็นอยู่และจดบันทึกการกระทำของคนในบ้าน
ห้องนอนของชาวจีนภูเก็ตจะอยู่ชั้นสองของบ้านหรือที่เรียกกันว่า “หล่าวเต้ง” เตียงนอนจะเป็นเตียงเหล็กสี่เสาผ้าม่านลายลูกไม้บางๆเพื่อป้องกันสัตว์มีพิษ นอกจากนั้นยังใช้ลูกไม้มาตกแต่งตามริมหน้าต่าง เครื่องนอน และเฟอร์นิเจอร์ภายในห้อง
อาคารชุดถนนถลาง เป็นถนนสายประวัติศาสตร์มากว่า 150 ปี มีระยะทางประมาณ 450 เมตร และเป็นย่านศูนย์กลางการค้าของชาวภูเก็ตรูปแบบอาคารตึกแถว เรียกว่า เตี้ยมฉู่ อาคารมีมากกว่า 140 คูหา
อาคารธนาคารชาร์เตอร์แบงก์เป็นธนาคารแห่งแรกเปิดที่ภูเก็ต ทำหน้าที่โอนรับจ่ายเงิน ซื้อ-ขายสินค้าระหว่างประเทศเป็นหลัก
สถานีตำรวจ (ศูนย์รวมข่าวพรหมเทพ) มีหลังคาคล้ายรูปหมวกตำรวจสมัยก่อน อยู่ตรงข้ามชาร์เตอร์แบงก์
ซอยรมณีย์ เป็นซอยที่เชื่อมต่อระหว่างถนนถลางและถนนดีบุก ปัจจุบันเป็นที่พักอาศัย, ร้านค้า และโรงแรม
อาคารตึกแถว ถนนดีบุก เป็นอาคารตึกแถวที่ยังคงรักษาสภาพเดิมไว้ได้มากที่สุด เป็นบ้านพักอาศัยเพียงอย่างเดียว
ปิ่นตั้ง ภาษามาเล แปลว่าดาว เป็นได้ทั้งจี้ และเข็มกลัดติดเสื้อ ทรงนูนคล้ายหลังเต่าประดับด้วยเพชรหรืออัญมณีอื่นๆ
ปิ่นปักผม ทำด้วยทองคำประดับเพชรลูกหรือเพชรซีก วิธีปักอันแรกต้องให้อยู่กลางหน้าผาก โดยปักจากอันเล็กไล่ระดับไปอันใหญ่
กอรอสัง เป็นเครื่องประดับสามชิ้น ใช้กลัดแทนกระดุม มีลักษณะคล้ายรูปหัวใจหรือลูกพีช ตกแต่งเป็นลวดลายต่างๆ กอรอสังอีกแบบหนึ่งจะเป็นชุดเข็มกลัด 3 ชิ้นมีโซ่เล็กๆ เกี่ยวเนื่องกันเป็นชุดๆ
หลั่นเต่ป๋าย เป็นสร้อยคอทองคำประดับเพชรลูกหรือเพชรซีก หรืออัญมณีอื่น ๆ ฉลุลายเครือเถารูปนกหรือแมลงและดอกไม้
ต่างหูหางหงส์ เป็นต่างหูติดแนบกับใบหูลักษณะกลีบลายดอกไม้มีความอ่อนช้อย ทอดยาวคล้ายขนของหงส์
สร้อยคอโกปี้จี๋ เป็นสร้อยคอยาวลดลั่นหลากหลายความยาว ความกว้างและความหนา มีพื้นผิวเรียบแกะลายสลับข้อโซ่
กิมตู้น เป็นกระดุมลายเครือเถา ลายสัตว์ต่างๆ โดยมีห่วงเล็กๆ อยู่ด้านหลัง
จี้ฮัวหนา จี้แบบช่อดอกไม้ มีลวดลายอ่อนช้อยประดับด้วยเพชรเม็ดงาม
กระเป๋าถักเงิน หรือทอง สมัยก่อนสตรีบาบ๋าจะใช้กระเป๋าเป็นเพียงเครื่องประดับ ตรงสายกระเป๋าจะมีที่เกี่ยวคล้ายแหนบ เอาไปเหน็บกับเข็มขัดเงินหรือเข็มขัดทอง
กำไลข้อเท้า หมั้ยตีน จะใส่เป็นคู่ ทำด้วยทองคำแท้ ตีโปร่งทำให้มีน้ำหนักเบา หัวเป็นดอกบัวแสดงถึงความบริสุทธิ์และความสวยงามของเจ้าสาวในพิธีแต่งงาน
แหวนบาเย๊ะ คือ เครื่องประดับที่สวมใส่ติดตัวในชีวิตประจำวัน หัวแหวนเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน หรือสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด
เข็มขัด จะนุ่งผ้าปาเต๊ะได้อย่างสวยงาม และแน่นหนาดี จะต้องใช้เข็มขัดในการนุ่ง
สร้อยมือเพชร มักเป็นลายดอกไม้ หรือเถาวัลย์
กำไลข้อมือเพชร ลายดอกไม้ หรือเถาวัลย์ ใช้เพชรลูก หรือเพชรซีกเรียงแถวตรงกลางใหญ่และลดหลั่นกันไป
กระดุมทอง เสื้อคอตั้งแขนจีบสำหรับผู้มีฐานะจะใช้กระดุมทำด้วยทองฝังเพชร
การแต่งกายชาวบาบ๋าภูเก็ต มีหลากหลายแบบ
ยุคแรกใช้เสื้อผ้าสีดำ หรือน้ำเงิน เนื้อหยาบ เรียกว่า ผ้าต่ายเสง ผู้หญิงจะนุ่งกางเกงแพรสีดำ เสื้อคอจีนป้ายข้างกระดุม สวมกำไลหยก
ชุดผู้ชายนายเหมือง แบบประยุกต์ที่ค่อนมาทางยุโรป คือ เสื้อคอตั้ง กระดุมห้าเม็ด สวมหมวกกะโล่ ถือไม้เท้า เป็นลักษณะการแต่งกายของทั่วไป
ชุดครุยยาว นิยมใช้เป็นชุดของเจ้าสาวในยุคแรกๆ ใช้เป็นผ้าเนื้อนิ่ม เช่นผ้าต่วน ผ้าซาติน นิยมใช้สีชมพูเท่านั้น เครื่องประดับเป็นทองและเพชร มีเอกลักษณ์สวมมงกุฎดอกไม้ไหว
ชุดสากลผู้ชาย เสื้อเชิ้ตแขนยาวผูกเนคไท ใส่สูทโดยทั่วไปเจ้าบ่าวจะแต่งกายสวมเสื้อนอกแบบยุโรป
ชุดบาบ๋า หรือเสื้อครุยท่อน ภาษาจีนฮกเกี้ยนเรียกว่า เสื้อปั่วตึ่งเต้ มีลักษณะคล้ายเสื้อครุย แต่ขนาดความยาวของเสื้อสั้นขึ้นประมาณสะโพก ต่อมาได้พัฒนาเสื้อให้มีความเหมาะสมเข้ากับชีวิตประจำวัน
ชุดย่าหยา หรือเคบาย่า นิยมตัดเย็บด้วยผ้าลูกไม้หรือผ้าป่าน ไม่เข้ารูปมากนักมีหลายแบบ ได้แก่ เคบายาลินดา เคบายาบีกู เคบายาซูแลม คนภูเก็ตส่วนใหญ่นิยมเสื้อบราเซียแบบเต็มตัว ผ้าที่ใช้ตัดเป็นผ้าฝ้าย สีของเสื้อชั้นในจะต้องเข้ากันกับสีเสื้อ
มีเรื่องเล่าติดต่อกันมาอย่างยาวนาน มี คณะงิ้วได้เปิดทำการแสดงอยู่ที่บ้านในทู(กะทู้)ระยะหนึ่ง ได้เกิดมีการเจ็บป่วยเป็นไข้ และจากการเจ็บป่วยครั้งนี้ทำให้คณะงิ้วนึกขึ้นได้ว่าพวกตนไม่ได้ประกอบพิธีเจี๊ยะฉ่าย (กินผัก) จึงมีประเพณีเกิดขึ้น ต่อมาโรคภัยไข้เจ็บก็หายไปหมดสิ้น เทศกาลถือศีลกินผัก เป็นเวลา 9 วัน ในจังหวัด เพื่อเป็นการชำระล้างบาปเคราะห์ ถือศีล และรำลึกถึงดวงวิญญาณบรรพบุรุษที่คุ้มครองและบันดาลให้ร่มเย็นเป็นสุข
ประเพณีแต่งงานของชาวภูเก็ตเชื้อสายจีนที่สืบทอดมานานกว่า 100 ปี ซึ่งผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมของคนจีนกับชาวภูเก็ตเข้าด้วยกัน โดยพิธีแต่งงานจะเป็นไปตามลำดับขั้นตอนตั้งแต่การสู่ขอ หมั้นหมาย ไปจนถึง “พิธีผ่างเต๋” ซึ่งเป็นพิธียกน้ำชาแบบจีน และพิธีส่งตัวบ่าวสาวเข้าห้องหอโดยมีแม่สื่อหรืออึ่มหลางเป็นผู้ทำพิธีให้
การแลกแหวน
พิธีแลกแหวน อึ่มหลางและฝ่ายเจ้าสาวหาฤกษ์แต่งงานและกำหนดวันแต่งงาน
การแลกแหวน คือ อึ่มหลางและญาติผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าบ่าวจะเตรียมแหวนที่จะผูกด้วยด้ายแดงที่วงแหวน แล้วห่อด้วยกระดาษแดงนำไปบ้านเจ้าสาวพร้อมด้วยขนมมงคล ภาชนะที่ใส่ขนม ซึ่งทำจากไม้ไผ่ มีลักษณะกึ่งปิ่นโตกึ่งตะกร้า ทาสีแดงดำ เรียกว่า“เสี่ยหนา”
ปิ่นโตหรือตระกร้าสานด้วยไม้ไผ่ ทาสีแดงกับดำ ลงลักสีทอง ของชาวเพอรานากันลักษณะเป็น 3 ชั้น เรียกว่า เสี่ยหนา หากเป็นชั้นเดียว เรียกว่า ฮวดหนา ปัจจุบันใช้ในพิธีสู่ขอภายในขบวนขันหมากของเจ้าบ่าวของคนไทยเชื้อสายจีน ภายในใส่อาหาร เครื่องดื่ม ชุดน้ำชา ธูปเทียน เครื่องหอมเซ่นไหว้ ใส่เงินทองของมีค่า
ฮั่วก๋วน หรือมงกุฎดอกไม้ไหว ที่ประดิษฐ์จากดิ้นเงิน ดิ้นทอง เป็นดอกไม้ไหว
หรือเรียกว่า ดอกเฉงก๊อ โดยเจ้าสาวจะต้องเกล้าผมมวยสูงแบบโบราณ ที่เรียกว่า ทรงชักโบย ด้านหน้าหวีเรียบตึง ข้างๆ จะเรียกว่า อีเปง คล้ายแก้มปลาช่อน ส่วนด้านหลังโป่งออกคล้าย ตัวหอยโข่ง ประดับด้วยหงส์ แต่งงานสมัยก่อนเจ้าบ่าวจะพบเจ้าสาวครั้งแรกก็ในวันแต่งงาน ดอกไม้บนมงกุฎจะไหว บ่งบอกให้ญาติรับรู้ถึงความตื่นเต้นของเจ้าสาวอีกด้วย จะมีการเหน็บด้วยปิ่นปักผมรอบศีรษะ